เมนู

บทว่า นิวุตฺถา - ขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ ความว่า อยู่แล้วด้วย
การอยู่เพราะอาศัยธรรมดังกล่าวแล้วเป็นอารมณ์ คือ รู้แจ้งได้ด้วยจิต
ของตน ชื่อว่า การกำหนด ถึงแม้ว่ารู้แจ้งซึ่งจิตของคนอื่น ก็ชื่อว่า
การกำหนด แต่ผู้ที่ทรงคุณอย่างหลังนี้ ย่อมมีแก่พระพุทธเจ้าเท่านั้น
ในบรรดาการระลึกถึงการเวียนว่ายตายเถิดซึ่งขาดเป็นตอน ๆ เป็นต้น.
คำว่า ปุพฺเพนิวาสานุสฺสติ - ตามระลึกถึงชาติก่อน ๆ ได้
ความว่า ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในครั้งก่อนได้ด้วยสติใด, สติ
นั้น ชื่อว่า บุพเพนิวาสานุสติ.
คำว่า ญาณํ - ญาณ ได้แก่ ญาณอันสัมปยุตด้วยสตินั้น.

54. อรรถกถาทิพจักขุญาณุทเทส


ว่าด้วย ทิพจักขุญาณ


คำว่า โอภาสวเสน - ด้วยสามารถแสงสว่าง ความว่า ด้วย
อำนาจแสงสว่างแห่งกสิณ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือเตโชกสิณ โอทาต-
กสิณ อาโลกกสิณ อันเป็นอารมณ์แห่งจตุตถฌานอันแผ่ไปเพื่อเห็นรูป
ด้วยทิพยจักษุ.
คำว่า นานตฺเตกตฺตรูปนิมิตฺตานํ - นิมิตคือรูปต่างกันแล
อย่างเดียวกัน
ความว่า รูปแห่งสัตว์ต่าง ๆ, หรือ รูปสัตว์ทั้งหลาย

ที่เกิดขึ้น ในจำพวกที่มีกายต่างกัน, หรือรูปทั้งหลายในทิศต่าง ๆ, หรือ
รูปทั้งหลายที่ไม่ระคนกัน ชื่อว่า นานตฺตรูป - รูปต่างกัน, รูปแห่ง
สัตว์ผู้เดียว, หรือรูปแห่งสัตว์ผู้เกิดในจำพวกที่มีกายอย่างเดียวกัน, หรือ
รูปทั้งหลายในทิศเดียว, หรือรูปทั้งหลายเข้ากันได้แห่งทิศต่าง ๆ เป็นต้น
ชื่อเอกตฺตรูป - รูปอย่างเดียวกัน.
ก็ ในคำว่า รูปํ นี้ ได้แก่ วัณณายตนะ (สี) เท่านั้น. เพราะ
วัณณายตนะนั้น ย่อมแตกดับไป ฉะนั้นจึงชื่อว่า รูป, อธิบายว่า
วัณณายตนะนั้น เมื่อถึงซึ่งวรรณวิการ - ความเปลี่ยนไปแห่งวรรณะ
ก็ย่อมประกาศความถึงซึ่งหทัย. รูปนั่นแหละ ชื่อว่า นิมิตคือรูป. แห่ง
นิมิตคือรูปต่างกันและอย่างเดียวกันเหล่านั้น.
คำว่า ทสฺสนฏฺเฐ ปญฺญา - ปัญญาในอรรถว่าเห็น ได้แก่
ปัญญาในการเห็นเป็นสภาวะ.
คำว่า ทิพฺพจกฺขุญาณํ - ญาณในทิพจักขุ ชื่อว่า ทิพย์
เพราะเป็นเช่นกับด้วยของทิพย์. ปสาทจักขุอันเป็นทิพย์ของทวยเทพ
อันเกิดขึ้นด้วยสุจริตกรรม อันไม่แปดเปื้อนด้วยมลทินทั้งหลาย มี น้ำดี
เสมหะและโลหิตเป็นต้น สามารถรับอารมณ์แม้ในที่ไกลได้เพราะพ้น
จากมลทินเครื่องเศร้าหมอง. ญาณจักขุแม้นี้ อันเกิดเพราะกำลังแห่ง
วีริยภาวนา ก็เป็นเช่นนั้นนั่นเอง ฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิพย์ เพราะเป็น
เช่นกับของทิพย์. ชื่อว่า ทิพย์ แม้เพราะเป็นธรรมอันตนอาศัย
ทิพวิหารธรรม เพราะได้เฉพาะด้วยอำนาจทิพวิหารธรรม, ชื่อว่า ทิพย์

เพราะเป็นของรุ่งเรืองมากด้วยการกำหนดอาโลกะ - แสงสว่าง, ชื่อว่า
ทิพย์ แม้เพราะมีทางไปมาก ด้วยการเห็นรูปภายในฝาเรือนเป็นต้นได้.
คำทั้งหมดนั้น พึงทราบตามครรลองแห่งคัมภีร์ศัพทศาสตร์.
เพราะอรรถว่าเห็น จึงชื่อว่า จักขุ, ญาณนั้นเหมือนกับจักขุ แม้
เหตุนั้น จึงชื่อว่า จักขุ, จักขุนั้นด้วยเป็นเพียงดังทิพย์ด้วย ฉะนั้น
จึงชื่อว่า ทิพจักขุ, ทิพจักขุนั้นด้วย ญาณด้วย รวมกันเป็น ทิพ-
จักขุญาณ - ญาณในทิพจักขุ
.

55. อรรถกถา อาสวักขยญาณุทเทส


ว่าด้วย อาสวักขยญาณ


คำว่า จตุสฏฺฐิยา อากาเรหิ - ด้วยอาการ 64 ความว่า
ด้วยอาการแห่งอินทรีย์อย่างละ 8 ในมรรคผลหนึ่ง ๆ ทั้ง 8 ในมรรคผล
ละ 8 ละ 8 จึงรวมเป็น 64.
คำว่า ติณฺณนฺนํ อินฺทฺริยานํ - อินทรีย์ 3 ความว่า ใน
อินทรีย์ 3 เหล่านี้คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์, อัญญินทรีย์,
อัญญาตาวินทรีย์.
คำว่า วสิภาวตา ปญฺญา - ปัญญาคือความเป็นผู้มีความ
ชำนาญ
ความว่า ปัญญาอันเป็นไปแล้วโดยความเป็นผู้มีความชำนาญ,